ท่าบริหารร่างกายหลังคลอด

ท่าบริหาร

5 ท่าบริหารร่างกายหลังคลอดน้อง

การบริหารร่างกายของมารดาหลังคลอด คือ การบริหารเพื่อจัดการให้โครงสร้างของร่างกายมารดากลับคืนสู่สภาพปกติในภาวะปกติดังนั้นมารดาหลังคลอดควรบริหารเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี  ช่วยขับของเสียต่าง ๆ    

การบริหารร่างกายหลังคลอด ควรบริหารร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์จนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด โดยควรทำวันละ 20-30 นาที แต่มารดาบางคนอาจจำเป็นต้องบริหาร ร่างกายต่อไปเป็นเวลาหลายเดือน ขึ้นกับลักษณะรูปร่าง การยืด ขยาย และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก่อนออกกำลังกายมารดาควรถ่ายปัสสาวะ และให้นมบุตรให้อิ่มก่อนเริ่มบริหารร่างกาย กรณีบริหารร่างกายแล้วรู้สึก เหนื่อยมาก ปวดแผลมาก น้ำคาวปลาไหลมากหรือหน้ามืดให้หยุดพัก พร้อมทั้งปรับลดระยะเวลาและความรุนแรงในการบริหารร่างกายในครั้งต่อไป 

ประโยชน์ของการบริหารร่างกายหลังคลอด

1. ช่วยให้ร่างกายกลับคืนสภาพปกติด้วยความรวดเร็ว

2. เป็นการกระตุ้นการทํางานของต่อมน้ำนมเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาเพียงพอสําหรับการเลี้ยงทารก

3.ทำให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น

4.ทำให้มดลูกมีการบีบตัวและเข้าอู่ได้เร็วขึ้น

5. ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าและทําให้สดชื่น แจ่มใส และเอ็นและข้อต่าง ๆแข็งแรง

การเตรียมตัวก่อนการบริหารร่างกาย

1.    แต่งกายให้เรียบร้อย สวมเสื้อผ้าหลวมๆ

2.    ควรบริหารร่างกายภายหลังให้ทารกดูดนมอิ่มแล้ว

3.    ควรถ่ายปัสสาวะก่อนบริหารร่างกาย

4.    ใช้เวลาบริหารร่างกาย 10-30 นาทีต่อวัน

ท่าที่ 1 นอนหงายหนุนหมอน แขนทั้ง 2 ข้างเหยียดตรงแนบลำตัว สูดลมหายใจเข้าช้าๆให้เต็มที่พร้อมแขม่วท้อง ค้างไว้ และค่อยๆเป่าลมออกช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลด หน้าท้องและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 2 นอนหงายไม่หนุนหมอน แขนทั้ง 2 ข้างจาที่เหยียดตรงแนบลำตัว มาจับท้ายทอย เหมือนท่าซิทอัพเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อส่วนบน หายใจเข้ายกศีรษะขึ้นให้คางจรดอก โดย ลำตัว แขน และขาเหยียดตรง ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลดหน้าท้อง ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 3 บริหารทรวงอก: นอนหงายราบไม่หนุนหมอน แขนเหยียดตรง กางแขนออกให้ตั้งฉากกับลำตัว ยกแขนขึ้นจนฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะกัน ค้างไว้สักครู่จึงลดแขนลงวางไว้ข้างลำตัว ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง 

ท่าที่ 4 บริหารกล้ามเนื้อสะโพกและช่วยลดหน้าท้อง: นอนหงายราบ ไม่หนุนหมอน แขนเหยียดตรงข้างลำตัว งอขาทั้งสองข้างขึ้นให้ส้นเท้าสัมผัส จากนั้นค่อยๆยกก้นขึ้น ให้ลอยในอากาศ ทำ 5-10 ครั้ง

ท่าที่ 5 นอนคว่ำ ใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย วางแขนข้างลำตัว หันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง นอนนานประมาณ 15-30นาที ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดมดลูก ขับน้ำคาวปลา และช่วย ในการกลับคืนสภาพของมดลูกได้เร็วขึ้น

ติดตามบทความเรื่อง ข่าวกีฬา ออกกำลังกาย และอุปกรณ์กีฬาได้ที่ ออกกำลังกาย 
เวปไซด์ sportintrends.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Facebook
Twitter