การยกเลิกกฎ Financial Fair Play คือทางออกของฟุตบอลยุคโควิด-19 หรือไม่ ?

นับตั้งแต่โควิด-19 อุบัติขึ้นมาบนโลกมนุษย์ เกมการแข่งขันฟุตบอลก็ต้องปรับสภาพกันไป โดยเฉพาะการห้ามเข้าสนามของแฟนบอล ซึ่งการที่สนามฟุตบอลไม่มีแฟนบอลนานนับแรมปี ผลกระทบก็เริ่มเกิดขึ้นกับสโมสรฟุตบอล ในแง่ของรายได้ผ่านการขายตั๋วและอื่นๆ สุดท้ายเมื่อรายรับน้อย สโมสรต่างๆก็ไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้เต็มที่ เพราะผิดกฎ Financial Fair Play 

กฎ Financial Fair Play ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2010 เนื่องจากสโมสรต่างๆใช้จ่ายเงินกันอย่างบ้าคลั่งโดยปราศจากการควบคุม ซึ่งในหลายกรณีมันได้สร้างความเสียหายให้สโมสรเป็นหนี้กองโต จนถึงขั้นล้มละลายหรือต้องตกชั้นก็มากมาย นั่นจึงทำให้ ยูฟ่า ตั้งกฎนี้ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขัน ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ มีรายได้เท่าไร ก็ใช้จ่ายได้เท่านั้น 

ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา กฎ Financial Fair Play ที่ถูกคิดค้นโดย ยูฟ่า ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่สร้างมาตรฐานอันมั่นคงแก่สโมสรต่างๆ แต่แล้วหลังเกิด โควิด-19 ขึ้น ทุกสโมสรต่างได้รับผลกระทบอย่างที่กล่าวไปข้างต้นราว 1 ปีเศษ นั่นจึงทำให้ ยูฟ่า พยายามหาทางออก จนสุดท้ายตกผลึกแนวคิดว่าควรช่วยสโมสรต่างๆ จาก “มีรายได้เท่าไร ก็ใช้จ่ายได้เท่านั้น” เปลี่ยนเป็น “ใช้จ่ายได้เต็มที่เท่าที่จำเป็น เพื่อลดการสูญเสีย” ซึ่งแนวคิดนี้อาจเป็นทางเลือกเพียงไม่กี่ทางที่สโมสรต่างๆจะเอาตัวรอดจาก โควิด-19 ในครั้งนี้ อีกทั้งแนวคิดนี้จะทำให้การแข่งขันไม่เท่าเทียม แต่มันก็ไม่ถึงขั้นที่จะกลับไปเหมือนเมื่อราว 10 ปีก่อน เพราะมีการกำหนดเพดานค่าเหนื่อยสูงสุด พร้อมกับมาตรการทางภาษีเป็นตัวควบคุม โดยหากใครทำผิดกฎจะไม่มีการลงโทษห้ามแข่งขัน แต่จะลงโทษด้านการเงินแทน 

ฟุตบอลในยุคโควิด-19 การพักเว้นกฎ Financial Fair Play พร้อมกับการยืดหยุ่นให้ใช้จ่ายเงินได้อย่างอิสระ แต่มีข้อกำหนดควบคุม จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะมันจะช่วยกระตุ้นสถานะทางการเงินและเศรษฐกิจได้ ซึ่งเมื่อใดที่สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ การใช้กฎ Financial Fair Play ก็ค่อยเอากลับมาพิจารณาใช้อีกครั้ง   

ติดตามบทความเรื่อง ข่าวกีฬา ออกกำลังกาย และอุปกรณ์กีฬาได้ที่ ข่าวกีฬา
เวปไซด์ sportintrends.com

Facebook
Twitter